สถิติ
เปิดเมื่อ21/05/2012
อัพเดท25/09/2012
ผู้เข้าชม1556
แสดงหน้า2164
สินค้า
บทความ
ประวัติส่วนตัว
ความหมายของประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์
คำอธิบายรายวิชา ง30290 การประชาสัมพันธ์
ความสำคัญของประชาสัมพันธ์
บทที่ 1 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์ ศาสตร์+ศิลป์
บทที่ 2 เรื่อง ประวัติความเป็นมาของการประชาสัมพันธ์
ประโยชน์ของการประชาสัมพันธ์
บทที่ 3 เรื่อง หลักการและวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์
บิดาของการประชาสัมพันธ์
บทที่ 4 เรื่อง การประชาสัมพันธ์กับการโฆษณา
บทที่ 5 เรื่อง ขั้นตอนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์
บทที่ 6 เรื่อง หน่วยงานประชาสัมพันธ์
บทที่ 7 เรื่อง สื่อการประชาสัมพันธ์
บทที่ 8 เรื่อง การประเมินการประชาสัมพันธ์
บทที่ 9 เรื่อง คุณสมบัติของนักประชาสัมพันธ์
บทที่ 10 เรื่อง ศึกษาดูงาน ฝึกปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




บทความ

บทที่ 3 เรื่อง หลักการและวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์
สาระที่  4  การอาชีพ
มาตรฐาน ง 4.1  เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ  มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ตัวชี้วัด  ข้อที่ 1  อธิบายแนวทางการเลือกอาชีพ
 
   หน่วยการเรียนที่  3  เรื่อง  หลักการและวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์     
  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้   จัดทำสื่อสำหรับการประชาสัมพันธ์แบบง่าย  ๆ  ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานต่าง  ๆ ได้ มีเจตคติที่ดีในการทำงาน รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ    และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
จุดประสงค์การเรียนรู้
      ด้านความรู้ (K) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1.    อธิบายหลักการประชาสัมพันธ์ได้  
2.    บอกวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์ได้
3.    อธิบายวิธีการวางแผน  ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์ได้
       ด้านเจตคติ  ด้านคุณธรรม    จริยธรรม  และค่านิยมอันพึงประสงค์ (A)  เพื่อให้นักเรียนมี
1.     พละ 5 คือธรรมอันเป็นกำลังให้สำเร็จกิจตามปรารถนาได้ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ  ปัญญา 
2.     มีคุณธรรมรักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ    
3.      มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต    และ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
       ด้านทักษะและกระบวนการ (P) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1.    มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักการและวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์
2.    ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.    สามารถนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  
       สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1.   ความสามารถในการสื่อสาร  
2.   ความสามารถในการคิด
3.   ความสามารถในการแก้ปัญหา
4.   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   
5.   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

หลักการประชาสัมพันธ์
 

   วิวัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยได้กำเนิดขึ้นอย่างเป็น ทางการเกินกว่ากึ่งศตวรรษแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 เมื่อรัฐบาลได้ก่อตั้ง “กองโฆษณาการ” (กรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และเพื่อเผยแพร่กิจกรรมต่าง ๆ ของทางราชการให้แก่ประชาชน จากนั้นการประชาสัมพันธ์ก็ได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ได้เริ่มขยายด้วยการตั้ง โรงเรียนการประชาสัมพันธ์ เพื่อสอนและอบรมให้มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในงานด้านนี้ไปรับใช้สังคมมากขึ้นและมีการเปิดสอนระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาการ ประชาสัมพันธ์ บทบาทของการประชาสัมพันธ์จึงมีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ ในการที่ช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่หน่วยงาน ในขณะเดียวกันการประชาสัมพันธ์เปรียบ เสมือนประตูที่เปิดรับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อหน่วยงานนั้น ๆ ปัจจุบันงานด้านประชาสัมพันธ์ได้เป็นที่ยอมรับในภาครัฐ รัฐวิสาหกิจเอกชนและสมาคมมูลนิธิ ต่าง ๆ มากขึ้น หน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่าของภาครัฐทุกสถาบันของรัฐวิสาหกิจ หลาย ๆ ธุรกิจ เอกชนโดยเฉพาะสถาบันที่มีขนาดใหญ่หรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ ประชาชนจำนวนมาก ต่างก็มีฝ่ายประชาสัมพันธ์และหรือผู้ปฏิบัติงาน/เจ้าหน้าที่ที่ทำงานทางด้านนี้โดยตรง
    อย่างไรก็ตามจากอดีตถึงปัจจุบันการประชาสัมพันธ์สามารถจำแนกได้เป็นสองลักษณะ โดยในอดีตนั้นการประชาสัมพันธ์เป็นเพียงการเผยแพร่ความรู้ ความ เข้าใจ ข่าวสารข้อมูลและเรื่องราวต่าง ๆ ของสถาบันไปสู่ประชาชน หรืออาจสรุปได้ว่า เป็นการสื่อสารทางเดียวในอันที่จะให้ประชาชนได้รับทราบ มีความรู้ความเข้าใจ เกิดความนิยมและศรัทธา แต่ในปัจจุบันบทบาทของการประชาสัมพันธ์ได้เปลี่ยนแปลงไป นอกจากจะมีความหมายและความสำคัญในการส่งเสริม และสนับสนุนด้านการตลาดและการขาย มีความสัมพันธ์กับการโฆษณาพร้อม ๆ กับมีบทบาทหน้าที่ในการสร้างบำรุงรักษาและแก้ภาพพจน์ให้แก่สถาบันแล้ว การประชาสัมพันธ์ยังสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างสถาบันกับประชาชนให้ถูกต้องเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการตระหนักและเคารพในความรู้ ความคิดเห็น ความต้องการและพฤติกรรมของประชาชนที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ซึ่งยังผลให้การประชาสัมพันธ์มีลักษณะของการสื่อสารแบบยุควิถีหรือการสื่อสารสองทางไป – กลับ (two3way communication) ที่สมบูรณ์ขึ้น

วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์
                         การประชาสัมพันธ์ โดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญพอสรุปได้ ๓ ประการ ดังนี้
                         ๑.   เพื่อสร้างความนิยมให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน ความนิยม (Good will) จากประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานและความอยู่รอดขององค์กร จึงมีความเป็นในการสร้างความนิยมให้เกิดในหมู่ประชาชนหรือกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้อง ประกอบไปด้วยการปลุกกระตุ้นเพื่อสร้างและดำรงไว้ซึ่งความเชื่อถือและศรัทธา จากประชาชน ให้ประชาชนเกิดความเลื่อมใสในนโยบายและการดำเนินกิจการต่างๆ ขององค์กร ทำให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปด้วยความสะดวกราบรื่น และบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร
                         ๒. เพื่อปกป้องและรักษาชื่อเสียงขององค์กร ชื่อเสียงขององค์กรนับเป็นสิ่งสำคัญมาก หน่วยงานบางแห่งยอมที่จะสูญเสียผลประโยชน์มหาศาลไปเพื่อแลกกับชื่อเสียงของหน่วยงานนั้น เพราะชื่อเสียงขององค์กรย่อมเกี่ยวพันกับภาพลักษณ์ขององค์กรด้วย หากมีชื่อเสียงไปในทางลบภาพลักษณ์ขององค์กรนั้นๆ ย่อมเป็นไปในทางลบเช่นกัน ประชาชนอาจเกิดความรังเกียจ ชิงชัง ไม่อยากให้ความร่วมมือกับองค์กรนั้นได้ ดังนั้นองค์กรทุกแห่งจึงต้องพยายามปกป้องและรักษาชื่อเสียงของตนไว้ให้ดีเสมอ จะต้องมีการดำเนินงานที่ซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา และมีความประพฤติที่ดี รวมทั้งจะต้องมีการแสดงออกถึงความมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม
                         ๓.  เพื่อสร้างความสัมพันธ์ โดยทั่วไปอาจแบ่งตามลักษณะงานกว้างๆ ได้ ๒ ประเภท ได้แก่
                                ๓.๑    การประชาสัมพันธ์ภายใน (Internal public relations) คือ การสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีกับกลุ่มบุคคลภายในองค์กรให้เกิดมีความรักใคร่ กลมเกลียว สามัคคีในหมู่เพื่อนร่วมงาน รวมทั้งการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ และความจงรักภักดีต่อหน่วยงาน ซึ่งมีความสำคัญมากเนื่องจากหากการประชาสัมพันธ์ภายในยังไร้ประสิทธิภาพ ก็จะมีผลสะท้อนไปกับการสร้างความสัมพันธ์ภายนอกด้วย สำหรับสื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ภายใน นั้น อาจเป็นแบบซึ่งหน้า (Face to Face) หรืออาจใช้สื่อสิ่งพิมพ์ภายในองค์กรต่างๆ
                                ๓.๒   การประชาสัมพันธ์ภายนอก (External public relations) คือการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีกับประชาชนกลุ่มต่างๆ อันได้แก่ ประชาชนทั่วไป และประชาชนที่องค์กรมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ผู้นำท้องถิ่น ลูกค้า รวมทั้งชุมชนละแวกใกล้เคียง เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มต่างๆ นี้ เกิดความรู้ ความเข้าใจในตัวองค์กรและให้ความร่วมมือกับองค์กรด้วยดี

ที่มา : www.oknation.net/blog/boonyou/2009/03/31/entry-1 
         www.navy.mi.th/civil/news_civil/KM/infomation.doc