สถิติ
เปิดเมื่อ21/05/2012
อัพเดท25/09/2012
ผู้เข้าชม1557
แสดงหน้า2165
สินค้า
บทความ
ประวัติส่วนตัว
ความหมายของประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์
คำอธิบายรายวิชา ง30290 การประชาสัมพันธ์
ความสำคัญของประชาสัมพันธ์
บทที่ 1 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์ ศาสตร์+ศิลป์
บทที่ 2 เรื่อง ประวัติความเป็นมาของการประชาสัมพันธ์
ประโยชน์ของการประชาสัมพันธ์
บทที่ 3 เรื่อง หลักการและวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์
บิดาของการประชาสัมพันธ์
บทที่ 4 เรื่อง การประชาสัมพันธ์กับการโฆษณา
บทที่ 5 เรื่อง ขั้นตอนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์
บทที่ 6 เรื่อง หน่วยงานประชาสัมพันธ์
บทที่ 7 เรื่อง สื่อการประชาสัมพันธ์
บทที่ 8 เรื่อง การประเมินการประชาสัมพันธ์
บทที่ 9 เรื่อง คุณสมบัติของนักประชาสัมพันธ์
บทที่ 10 เรื่อง ศึกษาดูงาน ฝึกปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




บทความ

บทที่ 7 เรื่อง สื่อการประชาสัมพันธ์
สาระที่  4  การอาชีพ
มาตรฐาน ง 4.1  เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ  มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ตัวชี้วัด  ข้อที่ 1  อธิบายแนวทางการเลือกอาชีพ
 
หน่วยการเรียนรู้ที่   7 เรื่อง  สื่อการประชาสัมพันธ์            
 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้   จัดทำสื่อสำหรับการประชาสัมพันธ์แบบง่าย  ๆ  ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานต่าง ๆ ได้  มีเจตคติที่ดีในการทำงาน รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ    และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
 
จุดประสงค์การเรียนรู้

1.   อธิบายความหมาย  ความสำคัญและประโยชน์ของสื่อได้   
2.   บอกลักษณะ  รูปแบบ  และวิธีการสื่อสารเพื่อการสัมพันธ์
3.   เปรียบเทียบประเภทของสื่อและเลือกใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสม
4.   จัดทำสื่อสำหรับการประชาสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสมกับงาน
 
    ด้านความรู้ (K)  เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1.   อธิบายความหมาย  ความสำคัญและประโยชน์ของสื่อได้   
2.   บอกลักษณะ  รูปแบบ  และวิธีการสื่อสารเพื่อการสัมพันธ์
3.   เปรียบเทียบประเภทของสื่อและเลือกใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสม
4.   จัดทำสื่อสำหรับการประชาสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสมกับงาน
 
    ด้านเจตคติ  ด้านคุณธรรม  จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ ( A )  เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1.    มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
2.    มีคุณธรรมรักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ    
3.     มีทักษะในการทำงาน  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 
4.    มีคุณธรรมบริโภคด้วยปัญญารับผิดชอบขยันซื่อสัตย์อดทนอดออมมุ่งมั่นและทำงาน                                                                                                                                                                                                            ด้านทักษะ และขบวนการ ( P )  เพื่อให้นักเรียนสามารถ  
1.    ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ 
      สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1.   ความสามารถในการสื่อสาร  
2.   ความสามารถในการคิด
3.   ความสามารถในการแก้ปัญหา
4.   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   
5.   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
 สื่อการประชาสัมพันธ์
ความหมาย สื่อ แปลมาจากคำว่า medium หรือ media ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลว่า กลาง อยู่ตรงกลาง สิ่งที่อยู่ตรงกลาง แต่เมื่อนำมาใช้ในภาษาอังกฤษก็มีความหมายกว้างออกไป จนรวมถึงวิธี (means) สิ่งแวดล้อมห่อหุ้ม (environmental element) อาทิ อากาศสำหรับคน น้ำสำหรับปลา เครื่องมือ (instrument) ตัวแทนหรือตัวนำ (agency) วัสดุ (material) เทคนิค (technique) หรือแม้แต่ person as medium แต่เมื่อวิชาการด้านการสื่อสาร และการสื่อสารมวลชนก้าวหน้ามากขึ้น คำว่า สื่อ (medium หรือ media) ก็ได้รับการวิเคราะห์ศึกษาและตกแต่งพัฒนาจนมีความหมายเป็นศัพท์เทคนิค (technical term) หรือศัพท์เฉพาะที่มีความสำคัญยิ่ง      ทั้งนี้เพราะสื่อกลายเป็นองค์ประกอบที่จะขาดเสียมิได้ในการสื่อสารทุกรูปแบบและทุกประเภท ความหมายเดิมที่จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องของภาษาที่ใช้ในการพูดหรือการสอน ( อาทิ ภาษาไทยที่เป็นสื่อการสอนที่ใช้กันมากที่สุดในสถาบันการศึกษาของไทย ) ก็ได้ขยายออกมาครอบคลุมถึงสื่อวัตถุ ( อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ) สื่อบุคคล ( อาทิ สื่อภาษา สื่อท่าทาง พ่อสื่อแม่สื่อ สื่อประชาชน หรือ population media) สื่อผสม ( อาทิ สื่อมวลชน สื่อการสอน สื่อข้อมูล สื่อโสตทัศน์ ) หรือแม้กระทั่งสาร ( อาทิ สื่อวัจนะภาษา สื่อ อวัจนะภาษา )

                สื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ หมายถึง เครื่องมือหรือตัวกลางที่ใช้ในการนำข่าวสาร เรื่องราว จากองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่ประชาชน 
     สื่ออาจจำแนกได้หลายประเภทหลายหลักเกณฑ์แต่การกำหนดประเภทของสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ จะต้องคำนึงถึงลักษณะที่เป็นรูปธรรม ลักษณะที่พัฒนาได้ประโยชน์ในปัจจุบันและศักยภาพเพื่ออนาคต    

 ประเภทของสื่อที่ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์  

     โดยปกติทั่วไปมีการแบ่งประเภทของสื่อกันไว้หลายประเภท และหลายหลักเกณฑ์ (criteria) ได้ประมวลสรุปไว้ดังนี้ 
     1. แบ่งตามวิวัฒนาการ ได้แก่ สื่อประเพณี (traditional media) สื่อมวลชน (mass media) สื่อเฉพาะกิจ (specializedmedia)
     2. แบ่งตามบทบาทหน้าที่ทางสังคม ได้แก่ สื่อข่าวสาร (information media) สื่อการศึกษา 
(educationmedia) สื่อบันเทิง (entertainmentmedia) 
     3. แบ่งตามประสาทที่ใช้ในการรับสาร ได้แก่ สื่อโสต (audio media) สื่อทัศน์ (visual media)สื่อโสตทัศน์ (audio-visualmedia)
     4. แบ่งตามบทบาทหน้าที่ทางเทคนิค (technical functions) ได้แก่ สื่อถ่ายทอดสาร transmissionmedia) สื่อบันทึกสาร (record media) 
     5. แบ่งตามเครื่องนำรหัสสาร ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ (print media) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (electronicmedia) สื่อบันเทิงเสียงหรือภาพ (film or tape)

     สื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 
     1. สื่อประชาสัมพันธ์ที่ควบคุมได้ (Controllable Media) ได้แก่ 
           - สื่อสิ่งพิมพ์ Print Media) 
           - สื่อบุคคล (Personal Media) 
           - สื่อโสตทัศน์ (Audio-visual Media) 
           - สื่อกิจกรรมต่าง ๆ (Activity Media) 
     2. สื่อประชาสัมพันธ์ที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrollable Media) 
           - สื่อมวลชน (Mass Media)

 ความสำคัญของสื่อที่ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์

   สื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์มีความสำคัญ คือ 
          1. เพื่อการถ่ายทอดหรือบอกข่าวสารให้แก่ประชาชนได้รับทราบ 
          2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง 
          3. เพื่อเป็นการสร้างความนิยมและภาพพจน์ที่ดีขององค์กร

ที่มา : 
www.oknation.net/blog/print.php?id=292121